วันพุธที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ว่างงานทะลุ 5 แสนเซ่นเศรษฐกิจเดี้ยง ป.ตรีเตะฝุ่น-เอกชนจ่อเลย์ออฟ

งานพิเศษเสาร์อาทิตย์

ขอแชร์บทความโดยเว็บหางานพิเศษเสาร์อาทิตย์: แรงงานตกงานทะลุ 5 แสนคน ผลพวงเศรษฐกิจเดี้ยง-จีดีพีมีแนวโน้มโตต่ำกว่า 3% "ทีดีอาร์ไอ" ชี้การเมืองยื้อ ยิ่งน่าห่วง จับตาบริษัทเอกชนทยอยเลย์ออฟพนักงานรอบใหม่ เผยแรงงานระดับสูงวุฒิปริญญาตรีเตะฝุ่นมากสุด 1.5 แสนคน

ว่างงานทะลุ 5 แสนเซ่นเศรษฐกิจเดี้ยง ป.ตรีเตะฝุ่น-เอกชนจ่อเลย์ออฟ

ดร.ยง ยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผย"ประชาชาติธุรกิจ" ว่า น่าเป็นห่วงว่าแม้สถานการณ์ทางการเมืองอาจจะยุติลงกลางปีนี้ แต่ปัญหาที่อาจจะตามมาหลังมีการเลือกตั้ง และเข้าสู่กระบวนการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ซึ่งกว่าประเทศไทยจะสามารถเดินหน้าผลักดันนโยบายในการพัฒนาประเทศและการลง ทุนได้เต็มก็อาจล่วงเลยไปถึงปลายปีนี้ ขณะเดียวกันแม้เศรษฐกิจในภาพรวมอาจจะเติบโตต่อไปได้ แต่น่าจะเติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลง ซึ่งตามหลักการแล้วหากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของประเทศเติบโตในระดับที่ต่ำกว่า 3% จะส่งผลต่อการจ้างงาน และแม้จะเติบโตสูงกว่า 3% แต่ถ้าต่ำกว่า 4% ก็จะทำให้การดูดซับแรงงานใหม่ทำได้ไม่เต็มที่ กระทบต่อเนื่องถึงแรงงานที่จะเข้าสู่ตลาดไตรมาส 3 ปี 2556 ที่ผ่านมา อัตราการว่างงานอยู่ที่ 305,000 คน หรือคิดเป็น 0.8% ของจำนวนแรงงานทั้งหมด และไตรมาส 4 อยู่ที่ 356,000 คน หรือคิดเป็น 0.9% ส่วนไตรมาส 1 ปีนี้ มองว่าตัวเลขการว่างงานน่าจะอยู่ที่ 1.3% เนื่องจากเศรษฐกิจยังซบเซา บริษัทเอกชนไม่มีการดำเนินการใหม่ ๆ เพิ่มเติม เช่นเดียวกับไตรมาส 2 ซึ่งเศรษฐกิจติดลบ การจ้างงานแย่ตนจึงคาดการณ์ว่าปี 2557 จะมีผู้ว่างงานทั้งระบบ 500,000 คน หรือ 1.2% และตัวเลขสะสมของผู้ว่างงานจะเพิ่มขึ้นไปถึงปี 2558 ซึ่งอาจแตะ 2% ใกล้เคียงกับช่วงที่เกิดวิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540

อย่างไรก็ตาม ถ้าเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวเร็วจะค่อย ๆ ดูดซับแรงงานเข้าไปในระบบได้ระดับหนึ่งได้ แต่หากเศรษฐกิจยังซบเซาต่อเนื่อง จะเห็นบริษัทเอกชนเริ่มให้พนักงานออกจากงาน หรือลดการจ้าง (เลย์ออฟ) มากขึ้น โดยวิธีการเลย์ออฟอาจดำเนินการผ่านหลายรูปแบบ ทั้งการลดชั่วโมงทำงานลง,ลดการทำโอที รวมถึงการไม่มีภาระงานให้ ส่งผลให้พนักงานต้องพิจารณาตัวเองและลาออกในที่สุด

ดร.ยงยุทธกล่าว ว่า ปัจจุบันจำนวนผู้ว่างงานของแรงงานระดับต้น (จบชั้นมัธยมศึกษา) มีประมาณ 200,000 คน, แรงงานระดับกลาง (จบชั้น ปวช./ปวส.) 50,000 คน ขณะที่แรงงานระดับสูง (จบชั้นอนุปริญญาขึ้นไป) มีการว่างงานมากที่สุดประมาณ 150,000 คน

ทั้งนี้ ตัวเลขโดยเฉลี่ยของนักศึกษาที่จะจบการศึกษาในแต่ละระดับออกสู่ตลาดแรงงานแต่ ละปีมีดังนี้ ผู้ศึกษาระดับ ปวช.ปีละ 400,000 คน, ปวส.ปีละ 350,000 คน และอุดมศึกษาปีละ 400,000 คน

ทีดีอาร์ไอคาดการณ์ว่า ปี 2557 จะมีผู้เข้าเรียนระดับ ปวช. 182,700 คน, ปวส. 161,3000 คน, ปริญญาตรี 227,500 คน และปริญญาโท 36,000 คน และคาดการณ์ตัวเลขของผู้ที่จบการศึกษาในปี 2557 ว่ามีปวช. 16,300 คน, ปวส. 70,500 คน, ปริญญาตรี 165,000 คน และปริญญาโท35,000 คน โดยคนที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานในปี 2557 มีจำนวน 364,000 คน

ดร.ยงยุทธกล่าวอีกว่า จากการเฝ้าติดตามข้อมูลในระยะเวลา 2-3 ปี พบว่าสาขาวิชาชีพที่ขยายตัวและรับคนเพิ่มขึ้นคือด้านวารสารศาสตร์ และสารสนเทศ อันเนื่องมาจากการเข้าสู่ยุคดิจิทัล, วิทยาศาสตร์กายภาพ, คณิตศาสตร์สถิติ, สถาปัตยกรรมศาสตร์, วิศวกรรมศาสตร์ ส่วนสาขาวิชาชีพที่มีความต้องการลดลงคือวิทยาศาสตร์ชีวภาพ, เกษตรศาสตร์, ประมง, วนศาสตร์, สัตวแพทย์ รวมถึงศิลปศาสตร์, นิติศาสตร์ อย่างไรก็ตาม แม้ความต้องการจะชะลอตัวลงไปบ้าง แต่ก็ยังเป็นที่ต้องการอยู่

"สิ่งที่คนจบใหม่ควรทำคือศึกษาเพิ่มเติมทั้งการเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น หรือเพิ่มทักษะให้กับตัวเองในด้านภาษาอังกฤษ หรือคอมพิวเตอร์ เพื่อเป็นการรับรองให้นายจ้างรู้ว่าตัวเองทำงานเป็นและสามารถทำงานให้กับ บริษัทได้"

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางาน รายงานสถานการณ์ว่างงาน การเลิกจ้างและความต้องการแรงงานเดือน มี.ค. 2557 ที่ผ่านมาว่า ข้อมูลจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ที่สำรวจเมื่อเดือน ก.พ. 2557 ปรากฏว่ามีกำลังแรงงานประมาณ 38.31 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 37.74 ล้านคนว่างงาน 3.31 แสนคน เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนว่างงานเพิ่มขึ้น 8.60 หมื่นคน อัตราการว่างงานยังทรงตัวอยู่ที่ 0.9% และผู้รอฤดูกาล 2.45 แสนคน พิจารณาผู้ว่างงานจากประสบการณ์ทำงานพบว่า เป็นผู้ไม่เคยทำงานมาก่อน 1.36 แสนคน เคยทำงานมาก่อน 1.96 แสนคน สำหรับผู้ที่เคยทำงานมาก่อนเป็นผู้ว่างงานในภาคเกษตรกรรม 0.61 แสนคน และภาคการผลิต 0.57 แสนคน และภาคบริการและการค้า 0.78 แสนคนเทียบสถิติการว่างงานภายในเดือนระหว่างปี 2554-2557 จะเห็นว่าช่วงต้นปีอัตราว่างงานจะสูงสุดและปรับตัวลดลงต่ำสุดช่วงปลายปี เนื่องจากโครงสร้างการมีงานทำของแรงงานยังอยู่ในภาคการเกษตรเป็นหลัก

สถานการณ์ การเลิกจ้าง พบว่ามีสถิติผู้ประกันตนมาขึ้นทะเบียนขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานในเดือน ก.พ. 2557 รวม 48,271 คน เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลง 7,861 คน หรือร้อยละ 19.45 ผู้ถูกเลิกจ้างลดลง 721 คน หรือลดลง 11.04% ผู้ที่ลาออกเพิ่มขึ้น 8,582 คนหรือเพิ่มขึ้น 25.33%

สาเหตุที่ถูก เลิกจ้างมาจากนายจ้างปิดกิจการ 2,291 คน ลดจำนวนพนักงาน 2,048 คน ไม่ผ่านการประเมิน 182 คน มีความผิด 73 คน นายจ้างใช้เครื่องจักรทดแทน 11 คน อื่น ๆ 1,206 คน รวม 5,800 คน สาเหตุที่ลาออกจากงาน มาจากต้องการเปลี่ยนงาน 36,927 คน ต้องการพักผ่อน 2,344 คน สิ้นสุดโครงการหรือหมดสัญญาจ้าง 633 คน เกษียณอายุ 30 คน ไม่ระบุ 29 คน อื่น ๆ 2,497 คน รวม 42,460 คน

ความต้องการแรงงานในเดือน มี.ค. 2557 มีสถานประกอบการแจ้งตำแหน่งว่างมายังกรมการจัดหางาน 40,067 อัตรา เป็นชาย 5,094 อัตรา หญิง 11,980 อัตรา ไม่ระบุ 22,993 อัตรา ลดลงจากเดือนที่ผ่านมา 1,148 อัตรา และลดลงจากปีที่ผ่านมา 13,916 อัตราพิจารณาความต้องการแรงงานจำแนกตามประเภทอาชีพ พบว่าเสมียนเป็นที่ต้องการมากที่สุด 14,751 อัตรา รองลงมาเป็นอาชีพงานพื้นฐานหรือแรงงานด้านการประกอบการ 8,643 อัตรา พนักงานบริการ พนักงานขาย 5,835 อัตรา

ขอบคุณข้อมูล http://www.sanook.com/